dot
การชำระเงิน และ ยืนยันการใช้บริการ
dot
bulletประเภท ขายสด
bulletประเภท ขายเชื่อ
dot
ตรวจสอบค่าบริการ !!
dot
bulletค่าบริการ ส่งเอกสาร รายชิ้น
dot
Messenger Service !!
dot
bulletMessenger : Pay per Trip!!
bulletMessenger : Pay per Day !!
bulletMessenger : Pay per Month!!
dot
ติชม ร้องเรียน ร้องทุกข์
dot
bulletติชม ร้องเรียน การทำงาน
dot
Website แนะนำ
dot
bulletแมสเซ็นเจอร์ รายเดือน
bulletอุปกรณป้องกันตัว ผู้หญิง
bulletรับสมัครงาน แมสเซ็นเจอร์
bulletรับสมัครงาน ช่างแอร์
bulletยาสมุนไพรจีน ยาสมุนไพร
bulletล้างแอร์ ช่างแอร์
bulletโปรแกรมเงินเดือน Excel


Messenger พนักงานส่งเอกสาร


K Expert (18/8/2559)

 K-Expert

เครื่องมือ บริหารร้านค้าออนไลน์ ใน ยุคดิจิทัล

 

เครื่องมือ บริหารร้านค้าออนไลน์ ในยุคดิจิทัล จัดโดย K expert 

 

ขอขอบคุณ ทีมงานรายการ K-Expert ในเครือ ธนาคารกสิกรไทย
ที่ได้เชิญ Shipyours เป็นวิทยากร จัดสัมนาเรื่อง "เครื่องมือบริหารร้านค้าออนไลน์ ในยุคดิจิทัล
ณ ห้องประชุม K-Expert จามจุรี สแควร์
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2559


 

เริ่มต้น ร้านค้าออนไลน์ อย่างมีระบบ

ขายของออนไลน์ ก็เหมือนธุรกิจทั่วไป เพียงแต่ว่าเรา ไม่ต้องมีหน้าร้าน แค่มีเว็บไซต์ ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น ใครๆ ก็ทำได้
การแข่งขันก็เลยสูง ฉะนั้นเราต้องมีการจัดการ ทุกอย่างให้เป็นระบบ เพื่อธุรกิจของเราจะได้แข็งแกร่ง

 

ระว่าง ขายของออนไลน์ กับ ขายของออฟไลน์

 

 

ขั้นตอนในการ บริหารร้านค้าออนไลน์

แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ ใหญ่ๆ
1.    Product (สินค้า)
2.    Market Place (สำรวจตลาด) / Marketing (โปรโมต)
3.    Stock (คลังสินค้า)
4.    Delivery (จัดส่ง) / Payment (การชำระเงิน)
5.    Customer Database (เก็บฐานข้อมูล)

 

ขายของออนไลน์ เลือกสินค้า อย่างไรดี

ขั้นแรก คือ ถามตัวเราก่อน ว่าอยากขายอะไร ให้ขายตามความถนัดของตนเอง เมื่อได้แล้ว
ก็มาดูว่าของที่เราอยากขาย คือ แบบไหน
เป็นสินค้าทั่วไปที่จับต้องได้ไหม (Physical)

หรือว่าเป็น สินค้าที่มาในรูปแบบ คอมพิวเตอร์ (Digital ) คือ การขายของ ผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น ชอบถ่ายรูปภาพ ก็สามารถนำรูป ที่เราถ่ายสวย ๆ ไปลงขายได้ในเว็บ Platform รูปพวกนี้สามารถลงขายได้ตลอด ไม่มีวันหมดอายุ เขาไม่มีลิมิต ไม่มีค่าธรรมเนียม

สินค้าอีกอย่างหนึ่ง คือ สินค้าที่เรา ต้องทำสต็อค แพ็ค ใส่กล่อง และส่งไปรษณีย์ ก็จะแบ่งออกได้อีก 2 ด้าน คือ

สินค้าทั่วไป เช่น ยาลดน้ำหนัก อาหารเสริม เสื้อผ้า รองเท้า ที่สามารถรับมาจาก คลองถม ประตูน้ำ
หรือจะเป็น สินค้าแฮนด์เมค สินค้าที่มีชิ้นเดียว สินค้าที่เกิดจากทักษะ ความสามารถ และ ความชอบ ของเรา

 

คุณจูเนียร์ กำลังบรรยายเรื่อง เครื่องมือการ บริหารร้านค้าออนไลน์ ในห้องประชุม


สำรวจตลาด ร้านค้าออนไลน์
 

หลังจากเลือกสินค้าได้แล้ว ต่อมาคือการ สำรวจตลาดร้านค้าออนไลน์
การสำรวจที่ง่ายที่สุด คือ การเสิร์ชกูเกิล ด้วยคีย์เวิร์ดสินค้าที่ต้องการขาย

การค้นหาในกูเกิล จะบอกเราได้คร่าวๆ ว่า สินค้ามีความนิยม มากน้อยเพียงใด ถ้าคนพูดถึงเยอะ ต้องฉุกคิดนิดหนึ่ง ว่า คนต้องการของ หรือ คนขายเยอะกันแน่ ถ้ามีคนขายเยอะ ต้องมานั่งคิดอีกว่า สินค้าเราแตกต่างยังไง แต่ถ้าคนขายน้อย ก็ต้องมาดูว่า สินค้าไม่อยู่ในกระแสหรือเปล่า หรือ ว่าเป็นสินค้าที่คนไม่สนใจ อันนี้เป็นวิธีที่ ประหยัดเวลา และ สามารถทราบผลได้ภายในเวลา 5 นาที

 

Content is King !!!

Content ที่ดี ยิ่งทำให้ยอดขายของออนไลน์ เราดี
ให้สร้างเอกลักษณ์ของสินค้า ทำอย่างไรก็ได้ ให้สินค้าของเรา เข้าไปอยู่ในหัวของลูกค้า

ถ้าเขาคิดถึงเสื้อผ้า ก็ต้องคิดถึงแบรนด์เราเป็นอันดับแรก

คนที่เริ่มทำ ร้านค้าออนไลน์ ควรสนใจ การทำ Content ให้มาขึ้น ไม่จะเป็น ตัวหนังสือ, รูปภาพ, เสียง หรือ คลิปวิดิโอ เพื่อดึงความสนใจจากลูกค้าที่เป็น Target ของเรา ถ้า content ดี ยิ่งทำให้ยอดขายเราดี

 

การลงโฆษณา ขายของออนไลน์ ให้ได้ผล

 

การลงโฆษณา

แต่ละธุรกิจต้องใช้ เครื่องมือบริหารร้านค้าออนไลน์ แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางธุรกิจ เหมาะกับ Google Adwords หรือ บางธุรกิจเหมาะกับ Facebook Ads เพราะฉะนั้นวันนี้ จะมาแชร์ ว่า เครื่องมือแต่ละอย่าง มีข้อดีอย่างไรบ้าง และ เหมาะกับธุรกิจของเราไหม

-    Google Adwords
         เป็นวิธียอดฮิต แต่การซื้อ Google Adword เราต้องเจาะจงคีย์เวิร์ด เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมาย

-    Facebook Ads
     จุดเด่นคือ ความสนใจของคนใช้งาน เพราะเฟซบุ๊กจะเก็บฐานข้อมูลไว้ให้แล้ว เราสามารถดึงมาใช้ได้

-    Instagram
     เหมาะสำหรับ สินค้าที่รายละเอียดไม่เยอะ อย่างพวก เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า บอกแค่ขนาดของ ราคา และ รายละเอียดการติดต่อซื้อขาย

     เท่านั้น

-    @Line
     สามารถส่ง Content ได้รวดเดียว ไปยังผู้ที่กดติดตาม ไม่ต้องคอยส่งทีละคน ช่วยประยัดเวลาให้เราได้มาก

-    SEO (Search engine optimization)
     ข้อความในเว็บไซต์ของเรา จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ลูกค้าเสิร์ช เวลาสร้างเว็บไซต์ ต้องใส่คีย์เวิร์ดไปในตัวบทความ
     หรือ เว็บไซต์ กูเกิลจะดึงข้อความ ไปเก็บ Data เรื่อยๆ และพอมีคนเสิร์ชเยอะๆ เราก็สามารถขึ้นไปอยู่อันดับต้นๆ  ของGoogleได้

 

การ Stock สินค้า

วิธีการสต็อคสินค้า หลัก ๆ มีอยู่ 2 แบบ คือ สต็อคสินค้าเอง กับ จ้างเอาท์ซอร์ส

แบบที่1 ถ้าเรามีคลังสินค้าเอง
เราจะต้องแยกสต็อค ให้มันชัดเจน วิธีง่ายๆ สมมุติถ้าเราขายเสื้อ เราก็เอาเสื้อมาใส่ถุงพลาสติก เช่น ถุงนี้เสื้อดำ ไซซ์ S ถุงนี้เสื้อสีแดง ไซซ์ M แล้วจากนั้น ก็ค่อยมาแยกหมวดหมู่ มีเสื้อยืด เสื้อโปโล เสื้อคอวี โดยที่เวลาสินค้าเรามากขึ้น การเช็กสต็อคก็จะง่าย

สิ่งที่อยากจะแนะนำ สำหรับคนที่ทำคลังสินค้าเอง ทุกๆ ครั้งที่มีสินค้ามาลง ให้เรานับทุกครั้งว่า สินค้ามาลงจริงกี่ตัว และ ทำการบันทึกไว้ รวมถึงการทำบันทึก ขาออกของสินค้าทุกครั้งด้วย สิ่งที่จะได้จากการบันทึก

เราจะสามารถประเมินได้ว่า สต็อคตัวไหนที่เราจะต้องสั่งเพิ่ม ถ้าเราไม่เคยบันทึก เราก็จะสั่งแค่รอบแรก อาจทำให้เกิดปัญหาสต็อคซ้อน

แบบที่2 จ้างเอาท์ซอร์ส คลังสินค้าออนไลน์
การจ้าง
Outsourc คลังสินค้าออนไลน์ ให้ดูแลสินค้า อย่างที่ Shipyours ทำ จะมีใบรับสินค้าเข้า ลูกค้าแจ้งว่า ของจะเข้ากี่ชิ้น พนักงานก็จะเปิดดูว่า ของครบตามจำนวนไหม หรือ มีสินค้าที่มี ตำหนิอะไรหรือเปล่า ก็จะต้องจัดการเลยทันที จะมีการบันทึก เซ็นชื่อ เก็บเข้าแฟ้ม ให้ชัดเจน

 

คุณจูเนียร์ พูดถึง การบริหารร้านค้าออนไลน์ ในส่วนการ บริหารคลังสินค้า


การจัดส่งสินค้า

แบบที่ 1 การจัดด้วยตนเอง
การจัดส่งที่ทำได้อย่างแรก คือ การส่งด้วยตนเอง เรายังไม่รู้ว่า การขนส่งแต่ละแบบแตกต่างกันยังไง อันไหนเหมาะกับสินค้าแบบไหน

ข้อดีของการ จัดส่งด้วยตนเอง มันเริ่มง่าย แต่ปัญหา  คือ เราต้องมานั่งแพ็คของ หลายชั่วโมง และ ขับรถไปส่งของ ต่อคิวไปรษณีย์ ซึ่งเราเสียเวลาจากการส่งของไปมาก ซึ่งเดี๋ยวนี้มีบริกาจัดส่ง ที่เข้ามาช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น

แบบที่ 2 ใช้บริการจัดส่ง

เดี๋ยวนี้มีหลายบริการจัดส่งหลายเจ้า ให้เลือกใช้บริการ ทั้ง Kerry Express, Alpha fast ซึ่งระยะเวลาการขนส่ง ก็ไม่ได้แตกต่าง จากการ ส่งไปรษณีย์สักเท่าไหร่ ราคาก็ใกล้เคียงกัน บางบริการอาจจำกัดแค่เฉพาะ กรุงเทพ และ ปริมณฑล ซึ่งอาจจะเป็นข้อเสียเล็กน้อย

 

ขายของออนไลน์ กับช่องทางการชำระเงิน (Payment)


การชำระเงิน

     1. โอนเงิน
         เป็นวิธีที่ยอดฮิต และ ง่ายสำหรับทุกคน แค่โอนเงินผ่านมือถือ หรือ แค่เดินไปที่เคาน์เตอร์ของธนาคาร ก็สามารถชำระเงินได้แล้ว แต่ทางที่ดีควรเปิด SMS ในการแจ้งเตือน เพื่อป้องกันการทำสลิปปลอม

     2. COD
         การจัดส่ง โดย
ไปรษณีย์, Kerry Express หรือ alphafast

     3. Paypal
               เป็นตัวกลงระหว่างคนซื้อกับคนขาย คนซื้อสามารถชำระเงินได้หลายวิธี ตัดผ่านบัตรเครดิตก็ได้ หรือ จะโอนเงินก็ได้ ค่าธรรมเนียมคนซื้อไม่ต้องจ่ายแต่ผู้ขายจะเป็นคนชำระแทน

     4. Credit / Debit
         เดี๋ยวนี้มีตัวช่วย ให้เราชำระเงินได้ง่ายขึ้น คือ third party payment gateway (Omise, Paysbuy, 2C2P) เป็นบริการสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่อยากจะเปิดรับการชำระผ่านบัตรเครดิต หรือ เดบิต ก็สามารถไปเปิดแอคเคาน์ได้ และ จะได้ ลิงก์ในการชำระเงิน มาแปะที่หน้าเว็บไซต์ของเรา

     5. E- wallet
        
มีอยู่ใน Line Play เป็นสิ่งที่ตอบสนอง พฤติกรรมของคนไทยมากๆ เป็นการผสมระหว่าง ช่อง 1,3และ4 เราเติมเงินเข้าไปใน E-wallet ไม่ว่าจะเป็นผ่านตู้ ATM, Online Banking เวลาเราอยากจะใช้จ่าย เราก็จ่ายผ่าน แอคเคาน์ไลน์ของเรา

 

บันทึกฐานข้อมูลลูกค้า

การเก็บข้อมูล เป็นปัจจัยสำคัญเลย ที่จะต่อยอด ให้กับธุรกิจของเรา
    1. ชื่อ – สกุล
    2. E-mail, เบอร์โทร
    3. ที่อยู่
    4. ประวัติการซื้อสินค้า
    5. ประเภทสินค้าที่ลูกค้าสนใจ

ขายของออนไลน์ แล้วบ้านรก แก้ไขได้ ด้วยระบบ บริหารหลังร้านที่ดี


ปัญหาที่พบบ่อย ในการทำ ร้านค้าออนไลน์

1.    บ้านรก
       สินค้าเยอะ ทำให้หาของไม่เจอ ดูไม่เป็นระเบียบ ดูไม่สะอาด และ ไม่เรียบร้อย

 

การบริหารร้านค้าออนไลน์ จะง่ายขึ้น ถ้ามีชั้นวางของ ที่เป็นระเบียบ

 

วิธีแก้ปัญหา ง่ายๆ เพียงแค่ หาซื้อชั้นวางของ แล้วนำของในสต็อค มาวางไว้ที่ชั้นวาง ชั้นล่างเก็บสินค้าที่แพ็คแล้ว ชั้นสอง กับ ชั้นสาม เป็นสินค้าที่เราขาย ชั้นบนเป็นกล่องที่ยังไม่ใช้ ซึ่งชั้นวางแต่ละชั้น จะมีชื่อเรียก ตั้งง่ายๆ A คือ ชั้นวางอันแรกที่เราซื้อมา ต่อมาเป็นตัวเลข หมายถึงชั้นที่เราวางสินค้า และ ขีดกลาง ขีด1 ขีด2 หมายถึง ล็อกของสินค้านั้นๆ
ยกตัวอย่าง A3-1 หมายถึง ชั้นวางของอันแรก ชั้นที่สาม ล็อกที่1
การมีชื่อเรียกให้ชั้นวาง จะทำให้การหาสินค้าง่ายขึ้นและ ดูเป็นระเบียบ เรียบร้อย

ข้อดี คือ ของไม่หาย เป็นระเบียบทำให้เรา หาของได้ง่าย ไม่ต้องรื้อค้น ในกองสินค้า ที่เราวางไว้

แต่ถ้าไม่อยากจัดการเอง ทาง Shipyours  มีบริการ หากสนใจ เข้าไปดูรายละเอียดที่ลิงก์ได้เลย
www.outsourcingfactory.co.th/Warehouse/Shipyours.html

2.    ส่งของช้า ลูกค้าไม่พอใจ
       อาจจะมาจากการขาด บุคลากรในการแพ็ค แนะนำง่ายๆ คือ หาผู้ช่วยในการแพ็ค จ้างพนักงานพาร์ทไทม์ จ่ายวันละ 300 บาท แล้วเราสามารถไปบริหารงานเรา บริหารร้านค้าของเรา มันก็คุ้ม  หรือ อาจจะมาจากปัญหา สินค้าหมด และปัญหาสุดท้ายคือ การสื่อสาร ต้องแจ้งยอด ตัดออร์เดอร์ให้ชัดเจน ลูกค้าจะได้ไม่มาว่าเรา

3.    ส่งสินค้าผิด
       เราต้องแยกคนหยิบของ กับ คนแพ็คของ คนละคน เพราะการแยกที่ชัดเจน จะทำให้คนทำหน้าที่ของตนเองดีขึ้น

4.    สินค้าหาย / สต็อคไม่ตรงกับสินค้าที่มีอยู่
       สินค้าทุกชิ้นที่เข้า-ออก ต้องมีการจดบันทึกที่ชัดเจน รับเท่าไหร่ ส่งไปรษณีย์ไปเท่าไหร่ และการถี่ในการเช็กสต็อคควรสักประมาณ เดือนละครั้ง

5.    ยอดชำระเข้าหลายทาง ไม่รู้ว่าของใคร
       วิธีตรวจสอบที่ง่ายที่สุด ให้ลูกค้าโอนมาเป็นเศษสตางค์ เช่น 100.03 สตางค์ และ ทำแบบฟอร์ม รายละเอียดชื่อลูกค้า สินค้าที่ลูกค้าสั่ง ยอดโอน เวลาโอน ธนาคารอะไร เราสามารถทำในกูเกิลฟอร์มได้ และก็ส่งลิงก์หน้ากูเกิลฟอร์มไปให้เขาเพื่อกรอกข่อมูล การมีหลักฐานจะทำให้เราทำงานง่ายขึ้น มีข้อผิดพลาดน้อยลง


ผู้เข้าร่วมฟังบรรยาย การบริหารร้านค้าออนไลน์ ที่ K-expert
 

เครื่องมือในเก็บฐานข้อมูลลูกค้า ของร้านค้าออนไลน์

การเก็บฐานข้อมูลลูกค้า ของร้านค้าออนไลน์ เป็นสิ่งสำคัญเพื่อต่อยอดธุรกิจ

1.    Excel
       หลายๆ ครั้ง ลูกค้ามาจากหลายช่องทาง การเก็บข้อมูลลูกค้า ชื่อ เบอร์โทร อีเมล รายการสินค้าที่ลูกค้าสั่ง รวมถึงช่องทางที่ลูกค้ามาก็ถือว่าสำคัญมาก เพราะหากลูกค้า มาในช่องทางใดมากเกิดปกติ เราก็อาจจะต้อง ซื้อโฆษณาเพิ่มในช่องทางนั้นๆ

2.    Google analytics
       เครื่องมือที่ใช้ฟรี เราล็อกอิน แล้วผูกเว็บเรากับเว็บเขา จะเก็บทุกอย่าง ใคร เพศไหน บ้านอยู่แถวไหน ใช้ เบราว์เซอร์อะไร รู้หมดเลย

ประโยชน์ที่ได้จาก
Google analytics ลูกค้าเข้ามาในเว็บไซต์เราได้ยังไง ถ้าเกิดเสิร์ช เข้ามาจากคีย์เวิร์ดอะไร เข้ามาจากลิงก์ไหน

3.    Email Service
       เป็นการเชื่อมบริการของเขา กับ การขายของออนไลน์ของเราได้ และทุก ๆ ครั้งเวลามีลูกค้าสั่งซื้อของ

           เราสามารถส่งอีเมลอัตโนมัต ขอบคุณ หรือ แนะนำสินค้าที่ใกล้เคียงกับความต้องการของลูกค้าได้ เช่น ลูกค้ามาซื้อไอโฟน7 กับเว็บไซต์เรา เราอาจจะส่งอีเมลว่า ขอบคุณที่ใช้บริการ คุณอาจจะสนใจเคสอีก 5 รุ่นนี้

4.    Facebook Advert
       เฟซบุ๊กจะทำการ  ดึงข้อมูลมาให้เรา โดยการ อัปโหลดเบอร์โทร หรือ อีเมล จากนั้นฟซบุ๊ก ก็จะหาข้อมูลลูกค้า กลุ่มเดิมมาให้เรา และ เฟซบุ๊กจะทำการยิงโฆษณา ไปที่หน้าเฟซบุ๊กของลูกค้า เป็นการเกาะฐานลูกค้าเดิมไว้ เหนือไปกว่านั้น ถ้าเรามีลิสต์รายชื่ออยู่ 100 ชื่อ เราอยากหาข้อมูลเพิ่ม เราอยากได้ลูกค้าเพิ่ม เฟซบุ๊กก็จะไปดึงคนที่มีพฤติกรรมคล้ายๆ ร้อยรายชื่อที่เขามี มาให้เรา

มันไม่ใช่หน้าที่ของลูกค้า ที่จะต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร แต่เป็นหน้าของเรา ที่ต้องคิดว่าสิ่งไหน ที่จะสามารถ เติมเต็มชีวิตของลูกค้าได้ ถ้าใครคิด และทำได้ก่อน เรายิ่งมีโอกาสในการสร้างธุรกิจได้มากกว่า

 

แนะนำ คลังสินค้าออนไลน์  [ Shipyours : ขายของออนไลน์ ไม่ต้องส่ง ]


 

K-Expert
เครื่องมือบริหารร้านค้าออนไลน์  : Shipyours คลังสินค้าออนไลน์
บริการขนส่งครบวงจร Base on ธุรกิจไทย

 

 

ทรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้การสร้างสรรค์
โดย กอสิน
 Outsourcing Factory 21 กันยายน 2558

Shipyours : First e-Fulfillment in Thailand

  

 

 

สนใจบริการ Shipyours 
กรอกแบบฟอร์มด้านล่าง




ประวัติการออกสื่อมวลชน

Bright TV (5/11/2559)
รายการกลยุทธ์ธุรกิจ (30/05/2559) article
รายการ SMEsที่รัก (28/09/2558)
Kbank Digital Platform (8/8/2558)
SME ตีแตก (4/4/2558)
หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์@Weekly (07-13/02/2558)
หนังสือพิมพ์ Post Today (12/01/2558)
รายการ Life&Real (07/12/2557)
นิตยสาร Make Money (1/7/2554)
หนังสือพิมพ์ ประชาชาติ ธุรกิจ (24/9/2552)